#ต้นตำรับ พระร่วงหลังรางปืน เนื้อดินภูเขาไฟ กรุเจดีย์ทอง (สุวรรณเจดีย์) หรือเจดีย์ปทุมวดี “กู่คำ”
… งานกรุเจดีย์ทอง สรรสร้างออกมาเป็นร้อยพิมพ์ หากท่านใดบอกว่าทำปลอมมา คงต้องกลับไปคิดใหม่ ก่อนที่จะได้อ่านตำรากรุนี้อย่างละเอียดและชัดเจน ตรรกะง่ายๆ คงไม่มีใครมานั่งทำพระปลอมเป็นร้อยพิมพ์เป็นแน่แท้ ดังนั้นหากเราไม่มีข้อมูลก็อย่ามั่ว พูดไปเรื่อยจะเสียเครดิตตัวเอง ยิ่งเป็นผู้รู้สอนคนอื่นมาเยอะจะยิ่งเสียเครดิตมากกว่าพวกที่ไม่มีชื่อเสียง สิ่งที่ถูกต้องคือเงียบแล้วคอยติดตามข้อมูล “เขาเรียกคนฉลาดคิด”
… เข้าเรื่องดีกว่า กรุเจดีย์ทองถือว่าเป็นโรงงานผลิตพระพิมพ์เนื้อดินเผาใน “ปฐมยุค” เมื่อ 1,300 ปีที่ผ่านมา หลายกรุที่นำต้นแบบไปล้อพิมพ์แล้วสร้างพิมพ์ใหม่ขึ้นมาจนโด่งดัง เส้นทางพุทธศิลป์เราๆ ท่านๆ อาจจะได้ทบทวนกันใหม่ว่าต้นตำรับมาจากที่ใด งานพุทธศิลป์เป็นระบบงานการพัฒนาคุณภาพและความอ่อนช้อยจากด้อยไปหาเด่น หรือจากเด่นให้เกิดความเด่นยิ่งขึ้น ดังนั้นกระบวนการเกิดขึ้นของพุทธศิลป์ในพระพิมพ์ เราจึงควรหาข้อมูลจากต้นตอให้พบเจอ เรื่องนี้จะทำให้เกิดความง่ายต่อกระบวนคิดและการพัฒนาของพุทธศิลป์ประเภทนั้นๆ ขอเจริญสุขให้มีแด่ทุกๆ ท่าน
… สาธุ กรุวัดพระธาตุหริภุญไชย**
ภายในวัดพระธาตุหริภุญไชยมีพระเจดีย์หนึ่ง ชื่อว่า “ปทุมวดีเจดีย์” มีรูปทรงสี่เหลี่ยม อยู่ทางทิศเหนือของวัด
การขุดพบพระ ครั้งที่ 1
ประมาณปี 2474 (ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นระยะเวลา 8 ปี ) พระครูบาธรรมวิชัย ได้ทำพิธีเปิดกรุปทุมวดีเจดีย์ อย่างเป็นทางการ ซึ่งได้พระออกมาจำนวนมากมายหลายพันองค์ (พระเปิม) และทางวัดได้สาธุชนเช่าบูชา ซึ่งจะได้นำเงินไปบูรณะปฏิสังขรณ์พระบรมธาตุ
การขุดพบพระที่ปทุมวดีเจดีย์ ครั้งที่ 2
การขุดครั้งที่ 2 เกิดในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ราวปี 2484 โดยเจ้าจักรคำขจรศักดิ์ เจ้าหลวงของลำพูน ได้ขุดฐานของปทุมวดีเจดีย์เข้าไปและได้พระซึ่งเจ้าหลวงได้แจกจ่ายให้กับหน่วยทหารที่มาประจำการที่จังหวัดลำพูนทั่วทุกคน ที่เหลือได้นำไปฝังไว้ในกรุตามเดิม
(พระเปิม)การขุดพบพระเที่ปทุมวดีเจดีย์ ครั้งที่ 3
เกิดขึ้นในปี 2496 ได้มีกลุ่มคนเข้าไปลักลอบขุดปทุมวดีเจดีย์ ส่วนจะได้พระออกไปเท่าไหร่นั้นไม่ได้มีการบันทึกไว้ เหลือแต่ร่องรอย ของการขุดไว้เท่านั้น