พระอธิการยอด อินฺทรส เป็นพระเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังมาตั้งแต่สมัยรัชการที่๕ โดยเฉพาะในด้านเมตตามหานิยมและคงกระพันชาตรี จึงรู้จักในเขตลุ่มเเม่น้ำนครชัยศรีหรือแม่น้ำท่าจีน เพราะท่านได้ไปเรียนวิชาต่างๆมาจากสำนักวัดคงคารามหรือวัดกลางบางแก้ว มณฑลนครชัยศรี และเป็นศิษย์รุ่นน้องของ พระพุทธวิถีนายก(บุญ ขันฺธโชติ) นอกจากนี้ยังได้ไปเรียนคาถาอาคมต่างๆ ไกลถึงประเทศพม่าที่เมืองย่างกุ้งและเมืองหงสาวดีด้วยเหตุนี้พระเครื่องและวัตถุมงคลของท่านจึงทำให้ได้รับความนิยมและเสาะแสวงหากันมากมาย นับตั้งแต่สมัยที่ท่านยังมีชีวิตอยู่มาจนถึงปัจจุบัน กล่าวคือ ส่วนใหญ่พระเครื่องที่ท่านสร้างจะเน้นด้านพิธีกรรมอย่างละเอียดทุกขั้นตอน บางคนเมื่อขอพระเครื่องไม่ได้ก็จะขอเครื่องรางของขลังแทน ถ้าไม่ได้อีกก็จะขอให้ท่านสักให้หรือเป่ากระหม่อมให้ ดังนั้นจึงมีเรื่องราวของท่านต่างๆ ปรากฎในหนังสือพระเครื่องดังๆอยู่หลายเล่มในอดีตเช่น วารสาร”มหาโพธิ์” เรื่อง พระปิดตา หลวงพ่อยอด วัดดอนหวาย จังหวัดนครปฐมหรือ วารสาร วงการพระเครื่อง เรื่องพระปิดตา หลวงพ่อยอด วัดดอนหวาย และ หนังสือพิมพ์ข่าวสด เรื่อง หลวงพ่อยอด วัดดอนหวาย จ.นครปฐม ศิษย์รุ่นน้องหลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว โดยนำมารวมกับข้อมูลที่ได้ศึกษาค้นคว้าเอาไว้แล้ว และบางส่วนก็ได้ทำการสืบค้นข้อมูลเพิ่มเติมขึ้นอีก เพื่อให้เรื่องราวของท่านมีความสมบูรณ์มากที่สุด
พระอธิการยอด อินฺทรส หรือ หลวงพ่อยอด อินฺทรส เกิดเมื่อปีฉลู ร.ศ.๘๔ ตรงกับ พ.ศ.๒๔๐๘ ในรัชการที่๔ ณ หมู่บ้านโคกหวาย ตำบลบางกระทึก อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม เป็นบุตรของนายแดง นางแพ อนกระทึก มีพี่น้องรวม ๗ คน คือ นางอู่ หลวงพ่อยอด นายเรียน พระอาจารย์ชุ่ม นายปลิว นางเกด นายชู มีปู่ชื่อ นายอินเจ้า โดยตั้งตั้งบ้านเรื่อนอยู่ในแถบคลองบางกระทึก ซึ่งไม่ไกลจากวัดคงคารามดอนหวายเท่าใด
ชีวิตในเยาว์วัยได้อาศัยอยู่กับบิดามารดา ซึ่งมีอาชีพทำนา ต่อมาพระอาจารย์ยาซึ่งเป็นพระน้าชายพาไปฝากตัวเป็นศิษย์วัดคงคารามหรือวัดกลางบางแก้ว มณฑลนครชัยศรี โดยให้อาศัยอยู่กับพระอธิการแจ้งหรือหลวงพ่อแก่เจ้าอาวาสเพื่อเล่าเรียนหนังสือ พออายุได้๑๓ปี จึงได้เข้าบรรพชาเป็นสามเณรที่วัดกลางบางแก้ว มีพระอธิการแจ้งเป็นพระอุปัชฌาย์ ได้เรียนพระธรรมวินัยตลอดจนวิชาการทำเครื่องรางของขลัง เรียนอักขระขอม เขียนเลขยันต์ และการลบผงพุทธคุณจากวัดกลางบางแก้วจนหมดสิ้น โดยมีพระพุทธวิถีนายก(บุญ ขนฺธโชติ) หรือ “หลวงปู่บุญ” ซึ่งอายุแก่กว่า๑๗ปี คอยเป็นพระพี่เลี้ยง เมื่ออายุได้๒๐ปีจึงกลับมาอุปสมบทที่วัดคงคารามดอนหวายตามคำขอร้องของบิดาและมารดา พระอธิการเปลี่ยน เจ้าอาวาสวัดคงคารามดอนหวาย รูปที่๓ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระมหาแปลก วัดคงคารามดอนหวาย เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระปลัดยา (พระน้องชาย) วัดคงคารามดอนหวาย เป็นพระอนุสาวนาจารย์ เมื่อท่านได้ศึกษาตำราต่างๆ ของวัดคงคารามดอนหวายจนหมดแล้ว พระอุปัชฌาย์ได้นำไปฝากไว้กับพระครูทักษิณานุกิจ(ผัน)วัดสรรเพชญ ซึ่งมีชื่อเสียงทางด้านวิปัสสนากัมมัฏฐาน โดยท่านศึกษาการทำสมาธิอยู่นานถึง๖ปี จึงได้ออกธุดงควัตรตามป่าช้า จากนั้นได้เดินทางไปเล่าเรียนเวทมนต์และไสยศาสตร์ในที่ต่างๆ จนถึงประเทศพม่า โดยเริ่มเดินทางจาก วัดคงคารามดอนหวายเข้าสู่เมืองกำแพงแสนถึงเมืองกาญจนบุรี ผ่านด่านเจดีย์สามองค์เข้าเมืองเมาะลำเลิงและผ่านป่าเข้าสู่ประเทศพม่าเข้าไปนมัสการพระเจดีย์ชเวดากองที่เมืองย่างกุ้งจนแตกฉานโดนเพราะตำราการสักยันต์ของพม่า ส่วนตอนการเดินทางกลับเมืองไทยท่านได้เช่าพระบูชาพม่าศิลปะแบบมัณฑเลย์เนื้อทองผสมรวม๒องค์ โดยช่างชาวพม่าให้เป็นผู้หาบตามมา นายพยอม อนกระทึก หลานของหลวงพ่อยอด อินฺทรส ได้เล่าให้ฟังว่า ชาวพม่าคนนี้นไม่ได้เดินทางกลับประเทศ เพราะได้แต่งงานกับหญิงไทยชื่อ “เขียว” และตั้งรกรากบ้านเรือนอยู่แถบคลองบางกระทึกจึงได้ชื่อใหม่ว่า”ตาอยู่พม่า” สำหรับพระพุทธรูปทั้ง๒องค์ดังกล่าว ท่านได้นำมาไว้ในที่บูชาพระของท่านมาดดนตลอดและได้ตกทอดเป็นสมบัติของวัดคงคารามดอนหวายมาจนทุกวันนี้
เมื่อครั้งที่หลวงพ่อยอด อนฺทรส ยังมีชีวิตอยู่นั้น ท่านเคยเล่าให้ลูกศิษย์ที่ใกล้ชิดฟังว่า ในการธุดงค์มีอยู่ครั้งหนึ่งท่านได้พบพระไทย ชื่อ พระอาจารย์ปาน จากวัดบางนมโค จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้มาปักกลดใกล้ๆกันในป่าเมืองพม่า พระอาจารย์องค์นี้มีวิชาอาคมมากเวลาก่อนจำวัดท่านจะชัก”ยันต์เกราะเพชร”ล้อมกลดเอาไว้เพื่อป้องกันสัตว์ร้าย ผีป่า ผีโป่ง นางไม้ นางพราย
ไม่กล้าเข้าใกล้ในรัศมีนับร้อยๆเมตรเลยทีเดียว ส่วนหลวงพ่อปาน ท่านก็เคยเล่าให้ศิษย์ใกล้ชิดซึ่งมีหลวงพ่อฤาษีลิงดำ วัดท่าซุง จังหวัดอุทัยธานี ได้บันทึกไว้ตรงกันว่า ได้พบพระภิกษุไทยองค์หนึ่งชื่อ พระอาจารย์ยอดจากวัดคงคารามดอนหวาย จังหวัดนครปฐม เป็นพระที่คงแกเรียน มีความรู้ทางเวทมนต์และมหามนต์เป็นอย่างดี เมื่อครั้งแรกเห็นรู้สึกนิยมชมชอบเมื่อได้พูดจาปราศรัยด้วยแล้วให้รู้สึกมีความเคารพยำเกรง
หลวงปู่ยอด อินฺทรส ใช้เวลาอยู่รุกขมูลอยู่ในป่าแถบชายแดนพม่าอยู่นานถึง๗ปีจนสามารถพูดภาษามอญ พม่า กะเหรี่ยง ได้อย่างคล่องแคล่ว จากนั้นจึงเดินทางกลับสู่วัดคงคารามดอนหวาย อีก๒ปีต่อมา พระอธิการขำ เจ้าอาวาสรูปที่๔ ได้มรณภาพ ทางคณะสงค์จึงแต่งตั้งให้ท่านเป็นเจ้าอาวาสปกครองดูแลวัดตั้งแต่ปีพ.ศ.๒๔๕๐เป็นต้นมา นอกจากนี้ท่านยังได้ทำการบูรณะปฏิสังขรณ์เสนาสนะต่างๆของวัดคงคารามดอนหวายมาโดยตลอดอายุขัยของท่าน แต่สิ่งสำคัญที่หลวงพ่อยอด อินฺทรส มีชื่อเสียงและได้รับการกล่าวขานมาจนทุกวันนี้ คือ วิทยาคมอันแก่กล้าในเรื่องเวทมนตร์และคาถาอาคมทั้งของไทยและของพม่า ดังนั้นอำนาจพุทธคุณในของที่ท่านปลุกเสกจึงมีพลังทางคงกระพันชาตรีและเมตตามหานิยมยิ่งนัก จึงมีลูกศิษย์และญาติผู้ใกล้ชิดมาขอพระเครื่องหรือเครื่องรางของขลังกับท่านอยู่เสมอ
อนึ่ง สำหรับจังหวัดนครปฐมในอดีตนั้นจัดเป็นเมืองที่มีพระเกจิอาจารย์ผู้ทรงอาคมอันเรืองเวทย์ ซึ่งได้สร้างพระปิดตาหรือพระปิดทวารเอาไว้เป็นจำนวนมากที่สุดแห่งหนึ่ง ได้แก่ หลวงพ่อทา วัดพะเนียงแตก หลวงปู่นาค วัดห้วยจรเข้ หลวงพ่อดี วัดบ้านยาง หลวงพ่อชม วัดบางปลา หลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว หลวงพ่อจ้อย วัดบางช้างเหนือ หลวงพ่อผัน วัดสรรเพชญ หลวงพ่อห้อย วัดหอมเกร็ด และ หลวงพ่อมี วัดทรงคนอง เป็นต้น หลวงพ่อยอด อินฺทรส จัดเป็นพระเกจิอาจารย์แห่งลุ่มแม่น้ำนครชัยศรีอีกรูปหนึ่ง ที่ได้สร้างพระปิดตาหรือพระปิดทวารเอาไว้หลายรูปแบบ และมีความสวยงามที่ดูโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ โดยเฉพาะการวางยันต์ในบางพิมพ์มีอักขระพม่าปรากฎอยู่อีกด้วย แสดงให้เห็นถึงความหลากหลาย ด้วยเหตุนี้เองจึงทำให้พระเครื่องของท่าน โดนเฉพาะพระปิดตาหรือพระปิดทวารได้รับความนิยมและมีการเสาะแสวงหากันมานาน “ชีวประวัติ พระอธิการยอด อินฺทรส”อ้างอิง โดย หนังสือประวัติ วัดดอนหวาย จัดทำโดย อ.สัญญา สุดล้ำเลิศ #Credit ขอขอบพระคุณเนื้อหาจาก คุณอ๊อด ดอนหวาย ครับ
พระขุนแผนหลวงพ่อยอดวัดดอนหวาย นครปฐม
฿2,000.00
พระขุนแผนหลวงปู่ยอด วัดดอนหวาย นครปฐม เนื้อผงยาพิมพ์หายาก หลายท่านเมื่อพบเห็นก็คิดว่าเป็นพระของหลวงปู่บุญ หลวงปู่ยอดท่านเป็นพระเกจิย์ ฯ ด้านเมตตามหานิยม
และคงกระพันชาตรีในเขตลุ่มแม่น้ำนครชัยศรี บวชเณรที่วัดกลางบางแก้ว มีหลวงปู่บุญเป็นพระพี่เลี้ยง เมื่อบวชเป็นพระได้เดินทางไปเรียนไสยศาสตร์เวชมนต์ในที่ต่าง ๆ เข้าสู่พม่า 7 ปีพูดภาษามอญ กระเหรี่ยง พม่าได้คล่อง สำเร็จคาถาอาคมและการสักยันต์ของพม่า กลับมาเป็นเจ้าอาวาสวัดดอนหวายเมื่อปี 2450 องค์ที่นำมาเสนอนี้เก็บรักษาไว้ก็สามสิบห้าปีแล้วมั่นใจว่าเป็นหลวงปู่บุญ ขอบคุณท่านผู้ชี้แนะไว้นะที่นี้ด้วย 2,000.- บาทประกันแท้ครับ.
…..เก็บมาเล่าต่อ…. เมื่อครั้งที่หลวงพ่อยอด อนฺทรส ยังมีชีวิตอยู่นั้น ท่านเคยเล่าให้ลูกศิษย์ที่ใกล้ชิดฟังว่า ในการธุดงค์มีอยู่ครั้งหนึ่งท่านได้พบพระไทย ชื่อ พระอาจารย์ปาน จากวัดบางนมโค จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้มาปักกลดใกล้ ๆ กันในป่าเมืองพม่า พระอาจารย์องค์นี้มีวิชาอาคมมากเวลาก่อนจำวัดท่านจะชัก “ยันต์เกราะเพชร” ล้อมกลดเอาไว้เพื่อป้องกันสัตว์ร้าย ผีป่า ผีโป่ง นางไม้ นางพราย ไม่กล้าเข้าใกล้ในรัศมีนับร้อย ๆ เมตรเลยทีเดียว ส่วนหลวงพ่อปาน ท่านก็เคยเล่าให้ศิษย์ใกล้ชิดซึ่งมีหลวงพ่อฤาษีลิงดำ วัดท่าซุง จังหวัดอุทัยธานี ได้บันทึกไว้ตรงกันว่า ได้พบพระภิกษุไทยองค์หนึ่งชื่อ พระอาจารย์ยอดจากวัดคงคารามดอนหวาย จังหวัดนครปฐม เป็นพระที่คงแก่เรียน มีความรู้ทางเวทมนต์และมหามนต์เป็นอย่างดี เมื่อครั้งแรกเห็นรู้สึกนิยมชมชอบเมื่อได้พูดจาปราศรัยด้วยแล้วให้รู้สึกมีความเคารพยำเกรง….
สินค้าหมดแล้ว