…เกล็ดย่อย…
– – -หลวงพ่อโหน่ง เป็นศิษย์รุ่นพี่ของ หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค และเป็นศิษย์ร่วมอาจารย์เดียวกันคือ หลวงพ่อเนียม วัดน้อย ก่อนหลวงพ่อเนียมมรณภาพ ท่านได้สั่งเสียกับหลวงพ่อปานว่า ถ้าข้าตาย มีอะไรขัดข้องก็ให้ไปถาม หลวงพ่อโหน่ง นะ เมื่อหลวงพ่อเนียมมรณภาพ แล้วราวหนึ่งปี หลวงพ่อปานก็ธุดงค์มาหาหลวงพ่อโหน่งที่วัดคลองมะดัน มาถึงวัดตอนบ่ายวันหนึ่ง ท่านก็นั่งรออยู่ใต้ต้นไม้ คิดว่าหลวงพ่อโหน่งคงจำวัดแต่หลวงพ่อโหน่งรู้ด้วยญาณของท่าน จึงเปิดหน้าต่างออกมา เห็นหลวงพ่อปานนั่งรออยู่จึงว่า อ้อ มาถึงแล้วเรอะฉันรออยู่แต่เช้าเชียว คืนนั้นหลวงพ่อปานต่อวิชากับหลวงพ่อโหน่งในโบสถ์ ทั้งหลวงพ่อโหน่งกับหลวงพ่อปานเข้าสมาบัติเต็มอัตรา ไม่ถึงครึ่งคืนทุกอย่างก็จบสิ้นกระบวนความ
เมื่อตอนหลวงพ่อโหน่งมรณภาพ ปี 2477 หลวงพ่อปานไปสร้างวัดอยู่ลพบุรีทราบข่าวได้สั่งกรรมการวัดคลองมะดันว่าอย่าเพิ่งเผาศพหลวงพ่อโหน่ง ถ้าร่างไม่เน่าให้รอท่านก่อน ปรากฏว่าร่างหลวงพ่อโหน่งไม่เน่า แต่กรรมการวัดก็รีบเผาเสีย หลวงพ่อปานมาถึงก็เทศนากรรมการวัดเสียกัณฑ์ใหญ่ว่า พวกแกอยู่กับพระอรหันต์ทุกวี่วันช่างไม่รู้บ้างเลย ท่านอธิษฐานทิ้งตัวไว้นะ ต่อมาเมื่อหลวงพ่อปานมรณภาพ เมื่อปี 2481 ท่านก็อธิษฐานทิ้งตัวไม่เน่าอีกเหมือนกัน สรุปแล้ว ตั้งแต่พระอาจารย์ใหญ่คือ หลวงพ่อเนียม ลงมาจนถึง หลวงพ่อโหน่ง และ หลวงพ่อปาน เมื่อมรณภาพแล้ว ร่างกายไม่เน่าทุกองค์ โดยไม่ต้องฉีดยาอย่างปัจจุบัน – – –
พระพิมพ์สมเด็จสามชั้นหูบายศรีหลวงพ่อโหน่ง วัดคลองมะดัน สุพรรณบุรี
฿700.00
พระพิมพ์สมเด็จสามชั้นหูบายศรีหลวงพ่อโหน่ง วัดคลองมะดัน สุพรรณบุรี พระเนื้อดินของหลวงพ่อโหน่งมีทั้งละเอียดและหยาบ เนื้อพระบางองค์เหมือนพระกำแพงทุ่งเศรษฐี มีสีแดง สีหม้อใหม่ แดงปนน้ำตาล สีแดงนวล สีดำปนเทา (สีดำปนเทามีน้อย) ในเนื้อดินมักมีแก้วแกลบ (แร่ยิบซั่ม) ฝังอยู่ ลักษณะเป็นเส้นขาวทึบคล้ายกระดูกหรือแป้งฝังอยู่ในเนื้อพระ อาจจะมีบ้างแต่น้อยมาก แร่ทรายเงินทรายทองก็มี ด้านหลังบางองค์จารึกอักขระขอม บ้าง ไทยบ้าง บางทีก็ พ.ศ. ภาษาจีนก็มี องค์นำมาเสนอพิมพ์นี้ขนาด 2.2 x 3 ซม. บางองค์ด้านหลังมีรอยกดลึกคล้ายบ่อหรือสระน้ำ 700.- บาทครับ.