—- เล่าย่อสองวัด…
พระกรุวัดคูยาง กำแพงเพชร และ พระกรุวัดคุ้งยางใหญ่ สุโขทัย
ผู้สร้างพระกรุวัดคูยางคืออาจารย์ ( กลึง ) อดีตเจ้าอาวาส ฯ สร้างบรรจุไว้ในเจดีย์ เมื่อปี 2444 เปิดกรุเมื่อปี 2513 พบพระที่เหลือจากการถูกโขมยเจาะกรุประมาณ 3,000 กว่าองค์ จำนวน 40 กว่าพิมพ์ เป็นเนื้อพระกรุเก่าผสมผงสมเด็จ (โต) และผงพระพุทธบาทปิลันธน์นำมารวมผสมตอนสร้างด้วย ส่วนพระกรุวัดคุ้งยางใหญ่ สุโขทัย สมเด็จ (โต) สร้างเป็นพิมพ์สมเด็จที่กำแพงเพชรเมื่อปี 2329 ด้วยเนื้อ “ดินผสมผง” ประมาณ 84,000 องค์ มีผู้นำมาบรรจุไว้ที่พระเจดีย์วัดคุ้งยางใหญ่ ต่อมาปี 2442 หลวงปู่แป๊ะ อดีตเจ้าอาวาสวัดคู้งยางใหญ่ ได้สร้างพระพิมพ์ต่าง ๆ ขึ้นอีก 84,000 องค์นำบรรจุร่วมกับพระของสมเด็จ (โต) เปิดกรุเมื่อปี 2523
*** ข้อเปรียบเทียบ…. วัดคุ้งยางใหญ่สร้างปี 2443 (พิมพ์สมเด็จปี 2329 สมเด็จ (โต) สร้างเอง วัดคูยางสร้างปี 2444 ผสมผงสองสมเด็จ) เนื้อและพิมพ์พระกรุของวัดคูยาง กำแพงเพชร จะใกล้เคียง และ/หรือ เหมือนกับเนื้อพระกรุวัดคุ้งยางใหญ่ สุโขทัย เช่น พิมพ์พระสมเด็จ เนื้อและคราบราจะคล้ายคลึงกันมาก ต่างกันก็แต่กรุวัดคุ้งยางใหญ่ จะมีจารอักขระด้านหลังด้วยถ้าไม่มีจารก็แทบจะแยกไม่ออกว่าเป็นกรุวัดไหน ความแตกต่างก็จะอยู่ที่พิมพ์แต่ก็มีบางพิมพ์ที่คล้ายกันมากทั้งเนื้อและพิมพ์
สามสิบกว่าปีที่ผ่านมายังไม่รู้จักวัดคุ้งยางใหญ่ ถ้ามีจารก็เล่นเป็นกรุวัดคูยาง กำแพงเพชร ถ้าไม่มีจารไม่เล่น ปัจจุบันจึ่งรู้ว่า “เราไม่รู้” องค์นำมาเสนอนี้เป็นพิมพ์พระบางสภาพไม่ได้ใช้ ราดำหน้า-หลัง ประกันแท้ 700.- บาท (ชอบกรุไหนก็เป็นกรุนั้น)
พระกรุวัดคูยาง
เมื่อพูดถึงพระกรุวัดคูยาง ก็อดที่จะกล่าวถึงพระสงฆ์ผู้ที่คนเคารพนับถือว่าเป็นผู้ทรงวิทยาคุณ ขนานนามว่าพระเกจิอาจารย์เสียมิได้ โดยเฉพาะในส่วนของวัดคูยางแล้วก็นับว่าเป็นที่รู้จักและยอมรับนับถือของคนทั่วไป ไม่น้อยไปกว่าวัดอื่นๆเลย เช่น พระครูธรรมาธิมุตมุนี (กลึง) พระครูเมธีคณานุรักษ์ (ปลั่ง) ต่อมาได้เลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระวิเชียรโมลีและพระวิเชียรธรรมคณี (ทองพาน) อดีตเจ้าอาวาสวัดคูยางและอดีตเจ้าคณะจังหวัดกำแพงเพชรทั้ง ๓ รูป เป็นต้น โดยเฉพาะพระครูธรรมาธิมุตมุนี (กลึง) ซึ่งเป็นพระเกจิอาจารย์ร่วมสมัยกับหลวงพ่อขำ อินทะปัญญา วัดลานกระบือ จังหวัดกำแพงเพชร หลวงพ่อศุข วัดปากคลอง มะขามเฒ่า จังหวัดชัยนาท และหลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน จังหวัดพิจิตร เป็นต้น
ประวัติการสร้าง
พระครูธรรมาธิมุตมุนี (กลึง) ผู้สร้างพระต่างๆ บรรจุไว้ในเจดีย์ในราว พ.ศ. ๒๔๔๔ ซึ่งเป็นปีเดียวกับที่ พระยาตะก่า ได้ขออนุญาตบูรณะเจดีย์วัดพระบรมธาตุ นครชุม โดยรวมเจดีย์ทั้ง ๓ องค์ ให้เหลือเพียงองค์เดียวแต่ใหญ่ขึ้นดังที่เห็นอยู่ในปัจจุบันและในการบูรณะครั้งนั้น น่าจะมีพระครูธรรมาธิมุตมุนี (กลึง) ซึ่งเป็นผู้ปกครองวัดและพระสงฆ์สามเณรในจังหวัดนี้เป็นแม่กองงานบูรณะฝ่ายสงฆ์ด้วย ฉะนั้นในการสร้างพระบรรจุที่กรุวัดคูยางของท่าน ส่วนหนึ่งได้นำพระกรุเก่าที่ชำรุดจากเจดีย์วัดพระบรมธาตุมาซ่อมแล้วบรรจุไว้ด้วย นอกจากนี้ในการสร้างพระของท่าน มีหลักฐานเชื่อได้ว่าได้นำผงพระพุทธคุณของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) และผงพระพุทธบาทปิลันธน์ผสมลงไปด้วย โดยพิสูจน์ได้จากพระกรุวัดคูยางบางองค์ที่หักชำรุดจะเห็นผงสีขาว บางองค์มีผงใบลานเผาปนอยู่ด้วยและบางองค์ยังมีไขคล้ายพระของพระพุทธบาทปิลันธน์อยู่บ้าง ข้อสังเกตอีกอย่างหนึ่งคือ พระที่หักชำรุดมีผงสีขาวปรากฏให้เห็นนั้น มักเป็นองค์ที่ไม่มีคราบราว่านหรือมีเพียงบางๆ แต่พระส่วนใหญ่จะมีคราบราว่านสีดำปนน้ำตาลแก่จับหนาแน่นไม่แพ้กรุเก่าเมืองกำแพงเพชรเลย เพียงแต่เนื้อพระดูจะสดกว่าหน่อยเท่านั้น เนื้อพระกรุเก่าของวัดคูยางนี้ จะใกล้เคียงกับเนื้อพระกรุวัดคุ้งยางใหญ่ ่จังหวัดสุโขทัย เช่น พิมพ์สมเด็จสี่เหลี่ยมล้อพิมพ์สมเด็จ เนื้อและคราบราจะคล้ายคลึงกันมาก ต่างกันก็แต่กรุวัดคุ้งยางใหญ่ จะมีจารอักขระด้านหลังด้วยถ้าไม่มีจารก็แทบจะแยกไม่ออกว่าเป็นกรุวัดไหน ฉะนั้นความแตกต่างก็จะอยู่ที่พิมพ์พระเป็นสำคัญ แต่ก็มีบางพิมพ์ที่คล้ายกันมากทั้งเนื้อและพิมพ์ก็คือพิมพ์สมเด็จปรกโพธิ์ซึ่งล้อพิมพ์สมเด็จพระพุทธบาทปิลันธน์ เพียงแต่จะเล็กหรือใหญ่กว่ากันบ้างเพราะไม่ได้ใช้พิมพ์เดียวกัน
เกียรติคุณของผู้สร้าง
พระครูธรรมาธิมุตมุนี (กลึง) เป็นพระสงฆ์ที่เพียบพร้อมไปด้วยศีลาจารวัตร ทรงวิทยาคุณและอภินิหาร เป็นที่เคารพเลื่อมใสอย่างสนิทใจของสงฆ์และคฤหัสถ์ มีความรู้ความชำนาญทั้งด้านปริยัติและปฏิบัติ ด้านสมณศักดิ์ก็เป็นพระครูสัญญาบัตรรูปแรกของเมืองนี้ ด้านการปกครองสงฆ์ก็เป็นเจ้าคณะเมืองหรือเจ้าคณะจังหวัดกำแพงเพชร ด้านการศึกษาก็นับเป็นหนึ่งมีโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกบาลีภายในวัดจนมีผู้สอบมหาเปรียญได้แล้วท่านก็ส่งไปเรียนต่อที่กรุงเทพฯ ด้านสาธารณูปการคือการบูรณะปฏิสังขรณ์และการก่อสร้างศาสนวัตถุ โดยเฉพาะภายในวัดปรากฏชัดเจนดังหนังสือตรวจการณ์คณะสงฆ์จังหวัดกำแพงเพชรและจังหวัดตากของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส เมื่อ พ.ศ.๒๔๕๖ ตอนหนึ่งว่า “…………วัดคูยางนี้เป็นวัดใหญ่ของเมืองกำแพงเพชร เคยเป็นวัดเจ้าคณะเมือง เจ้าคณะเมืองรูปก่อนคือพระครูธรรมาธิมุตมุนี (กลึง) เป็นพระกว้างมาก ได้ก่อสร้างปฏิสังขรณ์พระเจดีย์ โบสถ์ วิหาร และศาลาการเปรียญไว้ดีเป็นหลักฐาน………”
การเปิดกรุ
นับเป็นเวลาหลายปีก่อนหน้านี้ มีผู้แสวงหาพระที่พระครูธรรมาธิมุตมุนี (กลึง) สร้างกันมากขึ้น จึงอาจเป็นเหตุให้มีการลักลอบขุดเจาะเจดีย์กันหลายครั้งโดยเฉพาะในราวกลางปี พ.ศ. ๒๕๑๓ มีการลักขุดเจาะฐานเจดีย์เป็นช่องขนาดใหญ่จนทำให้เจดีย์ชำรุด และเมื่อต้นเดือนธันวาคมปีเดียวกันนี้ ก็มีการลักขุดกันอีก ทางวัดได้ปรึกษาผู้เกี่ยวข้องแล้วเห็นสมควรตั้งคณะกรรมการโดยมีพระสิทธิวชิรโสภณ (ช่วง) เจ้าคณะจังหวัดกำแพงเพชร พระครูวิมลวชิรคุณ (ทอน) เจ้าอาวาสวัดคูยางและนายบุญรอด โขตะมังสะ ผู้ว่าราชการจังหวัดกำแพงเพชร เป็นต้น ทำการเปิดกรุปรากฏว่ามีทั้งพระกรุเก่าหรือพระฝากกรุและพระที่พระครูธรรมาธิมุตมุนีสร้างบรรจุไว้ทั้งประเภท พระบูชาและพระเครื่องจำนวนมากโดยเฉพาะในส่วนที่เป็นพระเครื่องมีประมาณ ๓,๐๐๐ องค์ ซึ่งเหลือจากที่มีผู้ลักขุดเอาออกไปก่อนหน้านี้ซึ่งคาดว่าคงไม่น้อยกว่าจำนวนที่เหลือแน่นอน
(สรุปย่อจากหนังสืออนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ พระวิเชียรธรรมคณี (ทองพาน) อดีตเจ้าอาวาสวัดคูยางและเจ้าคณะจังหวัดกำแพงเพชร พ.ศ.๒๕๓๗ )🙏🙏🙏