พระสมเด็จบางขุนพรหม กรุพระเจดีย์เล็ก
ปี พ.ศ.๒๕๐๘ พระครูอมรคณาจารย์ (เส็ง) เจ้าอาวาสวัดใหม่อมตรส บูรณะวัดโดยได้ปรับปรุงบริเวณรอบองค์เจดีย์ใหญ่ซึ่งมี เจดีย์เล็ก เรียงรายรอบทั้ง ๔ ทิศของเจดีย์องค์ใหญ่ ทิศละ ๒ องค์ ตั้งซ้อนกันอยู่อย่างเป็นระเบียบรวมทั้งหมด ๘ องค์
ค้นพบ ปี พ.ศ.๒๕๐๘ พระอยู่ในกรุ ๙๕ ปี
จำนวน ไม่เป็นที่แน่ชัดเนื่องจากพระสมเด็จส่วนใหญ่ถูกช่างที่มาทำการบูรณะลักลอบนำออกไปแทบจะหมด คงประมาณเอาจากประสบการณ์จากผู้ใหญ่หลาย ๆ ท่านในสมัยนั้น กล่าวกันว่าประมาณสี่พันองค์
ส่วนในข้อถกเถียงกันที่ว่าสร้างพร้อมกันกับพระสมเด็จบางขุนพรหม ใน ปี พ.ศ.๒๔๑๑ หรือไม่ก็ต้องขอเรียนว่าสร้างพร้อมกัน และบรรจุกรุพร้อมกันด้วยเหตุผลก็คือการสร้างพระเจดีย์ที่บรรจุพระสมเด็จ ฯ นั้น ประกอบด้วยพระเจดีย์ใหญ่หนึ่งองค์รายล้อมด้วยพระเจดีย์เล็กทั้งสี่ทิศจำนวนแปดองค์ (ทิศละสององค์) จึงพบว่าไม่ว่าจะเป็นเนื้อมวลสาร ความเก่าตามกาลแห่งธรรมชาติ และที่สำคัญก็คือคราบกรุมีความคล้าย และ/หรือ มีความเหมือนกันแทบจะทุกประการ อันเนื่องด้วยองค์ประกอบจากสภาพทางธรรมชาติที่แวดล้อมในลักษณะเดียวกัน เช่น ความร้อน ความเย็น ความชื้น และที่สำคัญสภาวะน้ำท่วมใหญ่ ในกรุงเทพ ฯ ปี พ.ศ. 2422 พ.ศ. 2460 และ พ.ศ. 2485 เป็นต้น
จำนวนการสร้างพระสมเด็จทั้งกรุพระเจดีย์ใหญ่ และกรุพระเจดีย์เล็ก ทั้งสิ้น ๘๔,๐๐๐ องค์ เท่ากับจำนวนพระธรรมขันธ